วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

SQL Tutorial

SQL Tutorial

                SQL ย่อมาจาก structured query language คือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อใช้จัดการกับฐานข้อมูล ( Database )โดยเฉพาะ และเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่ง ซึ่งแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
            1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ
            2. Update query ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล
            3. Insert query ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูล
            4. Delete query ใช้สำหรับลบข้อมูลออกไป
SQL Quiz :  http://www.w3schools.com/sql/sql_quiz.asp
SQL Quick Reference  :  http://www.w3schools.com/sql/sql_quickref.asp 

SQL Intro :
SQL สามารถทำอะไรได้บ้าง
1 SQL สามารถดำเนินการเกี่ยวกับฐานข้อมูลได้
2 SQL สามารถสร้างตารางในฐานข้อมูลได้
3 SQL สามารถสร้างการจัดเก็บข้อมูลได้
4 SQL สามารถเพิ่ม ลด ลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงได้
5 SQL สามารถดึงข้อมูลออกจากฐานข้อมูลได้
6 SQL สมารถกำหนดสิทธิ์ในตาราง กระบวนการ และมุมมองในตารางได้
7 SQL สามารถสร้างมุมมองในฐานข้อมูลได้
การใช้ SQL ในเว็บไซค์
          ในการสร้างเว็บไซค์บางครั้งเราก็จำเป็นต้องใช้ SQL ในการจัดการกับฐานข้อมูล คุณสามารถใช้ได้โดย
- RDBMS ซึ่งก็คือโปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูล เช่น My SQL, SQL Server, MS Access, Oracle
- ภาษาสคลิปฝั่ง sever เช่น PHP, ASP
- SQL
- HTML / CSS
RDBMS
          RDBMS เป็นโปแกรมระบบการจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ เช่น MS SQL Server, IBM DB2, Oracle, MySQL, Microsoft Access
ข้อมูลใน RDBMS ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลเป็นออบเจ็กต์ที่เรียกว่าตาราง
ตารางเป็นชุดของรายการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย แถว และคอลัมน์

SQL Syntax : เป็นส่วนที่อธิบายหลักการใช้งาน

SQL Select :

          คำสั่งนี้ใช้เลือกข้อมูลที่เราต้องการใช้จาก Database โดยเราสามารถเลือกได้ว่าเราจะเอาข้อมูลอะไรบ้าง  หรือเลือกข้อมูลทั้งหมด

SQL Select Syntax


         syntax ต่อไปนี้เป็น syntax ที่ใช้ในการเลือกข้อมูลทั้งหมดของตารางข้อมูลจาก Database โดยใช้เครื่องหมาย * หลังคำว่า SELECT

Example :
              รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Select หรือการเลือกข้อมูลจากตาราง Customers โดยจะเลือกเฉพาะข้อมูลใน Column "CustomerName" และ "City"ที่มี่ Country 
              รูปภาพแสดงการเลือกข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในตาราง Customers โดยใช้ * คั่นกลางระหว่าง SELECT กับ FROM  แทนการระบุชื่อ column

SQL Distinct :

         เป็นคำสั่งที่เราใช้ระบุเงื่อนไขในการเลือกข้อมูลในตาราง (Table)  โดยจะเลือกข้อมูลที่มีซ้ำกันมาเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้นทำให้เราทราบความหลากหลายของข้อมูล 

SQL Distinct Syntax



Example :  
                รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Distinct หรือดูความหลายหลายของข้อมูลใน Column "Country " ของตาราง Customers โดยจะเลือกข้อมูลที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียวเท่านั้น

SQL Where :

          คำสั่งนี้เราจะใช้สำหรับการระบุเงื่อนไขการเลือกข้อมูลในตารางที่เรามี และคำสั่งนี้เราสามารถสร้างเงื่อนไขการเลือกข้อมูลได้มากกว่า 1 เงื่อนไขหรือเราจะใช้เพียงเงื่อนไขเดียวก็ได้

SQL WHERE Syntax



Example :
                รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Where หรือการกำหนดเงื่อนไขในการเลือกข้อมูลใน Column "Country " ของตาราง Customers โดยเลือกเฉพาะข้อมูลที่ชื่อ "Mexico" เท่านั้น
                รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Where ร่วมกับเครื่องหมายต่างๆ เพื่อใช้ในการกำหนดเงื่อนไขการทำงาน

SQL And&Or :
            เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการระบุเงื่อนไขกรณี(And)เป็นจริงทั้งคู่ และกรณี (Or)ที่ตัวใดตัวหนึ่งเป็นจริงหรือเป็นจริงทั้งคู่ก็ได้

Example :
               รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Or หรือการกำหนดเงื่อนไขในการเลือกข้อมูลใน Column "Country " ของตาราง Customers โดยเลือกเฉพาะข้อมูลที่ชื่อ "Germany" เป็นจริงและมี City เป็น "ฺBerlin" หรือ "M�nchen" และเมื่อรัน SQL แล้วก็จะแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลจำนวน 2 Records

SQL Order By :

             เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูลเข้าไปในตารางต่างๆ ของ Database 

SQL Order By Syntax



ASC = Ascendant เป็นการเรียงจากน้อยไปมาก 
DESC = Descendant เป็นการเรียงจากมากไปน้อย
***หากไม่กำหนดว่าเป็น ASC หรือ DESC ค่า Default จะเป็น ASC

Example :
              รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Order By หรือการเรียงข้อมูลในตาราง Customers โดยจะเรียงข้อมูลใน Column "Country" จากน้อยไปมาก จากนั้นจะเรียงข้อมูลใน Column "CustomerName"ที่มี่ Country เดียวกันจากมากไปน้อย

SQL Insert Into :

             เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในตารางต่างๆ ของ Database 

SQL Insert Into Syntax


 or 

Example :
              รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Insert Into หรือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในตาราง Customers ของ Database  เมื่อทำการรัน SQL แล้วเว็บจะทำการแจ้งเตือนมาว่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ Database เรียบร้อยแล้ว 
สังเกต จำนวนข้อมูลที่อยู่ในตาราง Customers มีจำนวนเพิ่มขึ้น
               รูปภาพแสดงข้อมูลที่อยู่ในกรอบสีเขียวเป็นข้อมูลที่เราได้เพิ่มเข้าไปใน Database โดยใช้คำสั่ง SELECT * FROM Customers เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทั้งหมด


SQL Update :

             เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Database 

SQL Update Syntax



Example :

            รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง Update หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตาราง Customers เมื่อทำการรัน SQL แล้วเว็บจะทำการแจ้งเตือนมาว่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ Database เรียบร้อยแล้วดังกรอบสีเดียวด้านล่าง 

              รูปภาพแสดงผลลัพธ์หลังจากได้ทำการอัพเดตข้อมูลใน Database ด้วยคำสั่ง SQL Update และใช้คำสั่ง SELECT * FROM Customers เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทั้งหมด

              นอกจากนี้การใช้คำสั่ง SQL  Update นั้นเราต้องระบุตำแหน่งที่เราต้องการแก้ไขให้ชัดเจนไม่อย่างนั้นจะเกิดปัญหาดังรูปต่อไปนี้
              เมื่อเราไม่ได้ระบุตำแหน่งที่เราต้องการที่จะไปอัพเดต  SQL ก็ทำการอัพเดตข้อมูลทุกตัวใน Column ที่เลือกให้มีข้อมูลเดียวกันตามที่เราได้กำหนดเอาไว้

SQL Delete :

              เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบข้อมูล  Record ออกจากตารางใดตารางหนึ่งใน Database 

SQL Delete Syntax



Example :
                รูปภาพแสดงข้อมูลในกรอบสีเขียวซึ่งข้อมูลที่เราต้องการลบออกจาก Database
                 รูปภาพแสดงการใช้คำสั่ง SQL ในการ Delete ข้อมูลออกจากตาราง Customers ของ Database  และข้อมูลที่เราต้องการลบนี้เป็นข้อมูลของ Cardinal  ที่อยู่ใย column "CustomerName"   เมื่อเราทำการกดรัน SQL แล้วเว็บก็จะแจ้งเตื่อนเราว่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ Database เรียบร้อยแล้ว
               รูปภาพแสดงผลลัพธ์หลังจากลบข้อมูลใน Database ด้วยคำสั่ง SQL DELETE  และใช้คำสั่ง SELECT * FROM Customers เพื่อดูข้อมูลทั้งหมดซึ่งเราพบว่าข้อมูลเหลือ 91 จาก 92 ข้อมูล

***หมายเหตุ ในการใช้คำสั่งนี้ต้องมีเงื่อนไขการระบุตำแหน่งที่ต้องการลบออกให้ชัดเจนเพราะหากไม่มีจะทำให้ข้อมูลในตารางนั้นถูกลบออกหมด


Program for DBMS 

           เลือกโปรแกรม Appserv version 8.0.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่รวบรวมเอา Open Source Software หลายๆ อย่างมารวมกันหลักๆดังนี้
           – Apache
           – PHP
           – MySQL
           – phpMyAdmin 
สามารถดาวน์โหลดได้ที่  :  https://www.appservnetwork.com/en/
ข้อดีของการใช้งาน appserv
  • สามารถติดตั้ง Apache, PHP, MySQL ได้อย่างรวดเร็ว
  • ไม่ต้องใช้ความสามารถในการติดตั้งแต่ละขั้นตอนให้ยุ่งยาก
  • สามารถแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ทันที
การใช้งาน appserv 
>>เปิดเว็บบราวเซอร์แล้วไปที่  http://localhost/ แล้ว click ที่ phpMyAdmin Database Manager Version 4.5.3.1 
>>log in เข้าสู่ระบบ
>>การตั้งค่า และการสร้างฐานข้อมูลใหม่
>> การสร้างตารางข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
>> เพิ่มข้อมูลเข้าไปในตารางโดยใช้คำสัง Insert Into
>> ตารางข้อมูลที่ได้ทำการ Insert เข้าไป
  

related info/link/reference :
              http://www.sonfree.com/detail.php?page_id=7
              https://www.appservnetwork.com/en/    : สำหรับโหลดโปรแกรม appserv


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น